นปัจจุบันนี้เราจะเห็นช่องทางการขายแบบใหม่มากมายที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องทั้งการขายสินค้าทั่วไป การขายบริการ ในส่วนของธุรกิจโรงแรมนั้นหากผู้บริหารโรงแรมไหนเล็งเห็นช่องทางใหม่ๆ เหล่านี้และสามารถวิเคราะห์จนเข้าใจได้ว่าจะนำมาพัฒนาการขายห้องพักของโรงแรมได้อย่างไร ย่อมนำมาซึ่งความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน พูดถึงช่องทางการขายของโรงแรมนั้น CEMS เองมีข้อสังเกตการวิวัฒนาการเรื่อยมาตั้งแต่อดีตเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันซึ่งวันนี้ CEMS ขอรวบรวมจากประสบการณ์การทำงานโรงแรมมาให้เป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ นะครับ
1. ยุค 1.0 = ยุคเริ่มต้นของธุรกิจโรงแรมในสมัยที่ยังไม่มี OTA และการท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนมากเท่าทุกวันนี้รวมทั้งนักลงทุนหรือเศรษฐีทั่วไปก็ยังไม่นิยมสร้างโรงแรมเป็นของตัวเอง ช่องทางการจัดจำหน่ายช่วงนี้จะเน้นการขายผ่าน “ T/A (Travel Agency)” เป็นบริษัททัวร์เพื่อให้พาแขกมาเข้าพักกับทางโรงแรมหรือการขายแขกประเภท Walk In ที่ตั้งใจมาพักโดยตรงเป็นหลัก สำหรับ T/A จะมีผลตอบแทนในรูปของห้อง Complimentary แขกหรือไกด์ รวมทั้งราคาที่สามารถนำไปบวกเพิ่มเป็นส่วนต่างและเป็นรายได้ของบริษัทได้
2. ยุค 2.0 = ยุคดอทคอม เป็นยุคที่เริ่มมีการพูดถึงการมีเว็บไซต์ที่เหมือนเป็นสูตรสำเร็จในการยกระดับธุรกิจให้ดูทันสมัยและสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจในยุคนี้ หลายๆ โรงแรมเริ่มมีการพัฒนาเว็บไซต์ของตนเองและเริ่มมีการขักชวนและเสนอให้ผู้จองติดต่อกลับเพื่อทำการจอง มีการนำเสนอ Promotion ต่างๆ แต่ข้อจำกัดคือยังไม่สามารถจองตรงผ่านเว็บไซต์ของโรงแรมได้ทันที อาจต้องมีการโทรคุยสอบถามรายละเอียด มีการส่งเอกสารยืนยันการจอง การชำระเงินและได้รับ Confirmation Letter ในที่สุดซึ่งเป็นการทำงานหลายขั้นตอนจนกว่าการจองจะสิ้นสุดแต่ก็ถือว่าโรงแรมใดที่มีเว็บไซต์เป็นของตนเองในช่วงนั้นเป็นโรงแรมที่น่าเชื่อถือและมีมาตรฐานดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
3. ยุค 3.0 เป็นยุคของเทคโนโลยีที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นภาครัฐและเอกชนเริ่มหันมา Focus ธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยวโดยการออก Package สนับสนุนและกระตุ้นการท่องเที่ยวออกมาอย่างแพร่หลายภาคธุรกิจ นักลงทุน เศรษฐี หันมาพัฒนาธุรกิจของตนเองเพื่อพยายามเข้ามาสร้างรายได้และเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจโรงแรม ในยุคนี้เริ่มมีการเข้ามาของ OTAs (Online Travel Agencies) ทั้งไทยและต่างประเทศแต่ที่ใหญ่ๆ ก็คงมีไม่กี่เจ้า สัดส่วนการขายถูกแบ่งออกอย่างชัดเจนระหว่างการขายผ่าน T/A (Travel Agency) และ OTA (Online Travel Agency) โรงแรมเริ่มมีการปรับตัวในการจ้างพนักงานในตำแหน่งที่รอบรับการขายออนไลน์โดยเฉพาะอย่าง E-Commerce Manager, E-Distribution Manager, หรือแม้แต่ Sales Manager – Online ขึ้นมาเพื่อรอบรับการขายในช่องทางนี้ ในส่วนการขายแบบ Offline เริ่มมีการจัดงาน “ไทยเที่ยวไทย” เพื่อส่งเสริมการขายให้กับหลายๆ โรงแรมขึ้นอีกด้วย
4. ยุค 4.0 เป็นยุคที่ช่องทางการจัดจำหน่ายถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีอย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุดสัดหลายโรงแรมปรับส่วนการจัดจำหน่ายผ่าน T/A ลดลงรวมทั้งเริ่มมีคำถามในค่า Commission ของ OTAs ที่พอคำนวณจริงๆ ในแต่ละปีบางโรงแรมสามารถนำมาเป็นงบการตลาดได้อย่างสบาย ช่องทางใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาและน่าสนใจในยุคนี้คือการขายผ่านผู้ติดตามของ Blogger ที่ใช้ความชอบและความเชี่ยวชาญของตนเขียน Review โรงแรมซึ่งในหลายๆ คนมีผู้ติดตามเป็นหมื่นเป็นแสน Follower โรงแรมจึงหันมาสนใจช่องทางนี้เพราะเมื่อเทียบต้นทุนแล้วส่วนใหญ่จะประหยัดมากกว่าช่องทางการจัดจำหน่ายสองช่องทางแรก แต่ด้วยบาง Blogger ที่เป็นรายใหญ่ๆ มีผู้ติดตามเยอะๆ มีการเรียกค่าใช้จ่ายที่มากเกินไปจากข้อได้เปรียบในจำนวนผู้ติดตาม ทำให้เกิดช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ขึ้นมาซ้อนกับช่องทาง Blogger นี้คือช่องทางของ Micro Blogger ที่เป็นการใช้การจัดจำหน่ายผ่าน Blogger รายเล็กๆ ที่มีจำนวนผู้ติดตามอาจจะแค่หลักหลายพันถึงไม่กี่พันแต่เมื่อใช้หลาย Blogger รวมกันก็ทำให้กลายเป็นจำนวนมากขึ้นมาเทียบเท่า Master Blogger ได้ แม้โรงแรมอาจจะต้องยอมรับว่าผู้ติดตาม Micro Blogger รายหนึ่งอาจสามารถติดตามได้หลาย Blogger ก็ตามแต่ก็ถือเป็นการประหยัดและหาช่องทางการจัดจำหน่ายได้น่าสนใจอีกช่องทางหนึ่ง
นี่คือเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับช่องทางการขายของโรงแรมที่ถูกวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันที่ CEMS นำมาเสนอกันครับ
************************************************************************* บริการรับบริหารโรงแรมระดับไม่เกิน 3 ดาว ในพัทยา ชลบุรี ระยอง จาก CEMS HALLS สนใจติดต่อและรับรายละเอียดได้ที่ 081 949 3713, 033 004 953 E-mail: contact@cemshalls.com ดูรายละเอียดเบื้องต้นได้ที่ https://cemshalls.com/service/management
1. ยุค 1.0 = ยุคเริ่มต้นของธุรกิจโรงแรมในสมัยที่ยังไม่มี OTA และการท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนมากเท่าทุกวันนี้รวมทั้งนักลงทุนหรือเศรษฐีทั่วไปก็ยังไม่นิยมสร้างโรงแรมเป็นของตัวเอง ช่องทางการจัดจำหน่ายช่วงนี้จะเน้นการขายผ่าน “ T/A (Travel Agency)” เป็นบริษัททัวร์เพื่อให้พาแขกมาเข้าพักกับทางโรงแรมหรือการขายแขกประเภท Walk In ที่ตั้งใจมาพักโดยตรงเป็นหลัก สำหรับ T/A จะมีผลตอบแทนในรูปของห้อง Complimentary แขกหรือไกด์ รวมทั้งราคาที่สามารถนำไปบวกเพิ่มเป็นส่วนต่างและเป็นรายได้ของบริษัทได้
2. ยุค 2.0 = ยุคดอทคอม เป็นยุคที่เริ่มมีการพูดถึงการมีเว็บไซต์ที่เหมือนเป็นสูตรสำเร็จในการยกระดับธุรกิจให้ดูทันสมัยและสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจในยุคนี้ หลายๆ โรงแรมเริ่มมีการพัฒนาเว็บไซต์ของตนเองและเริ่มมีการขักชวนและเสนอให้ผู้จองติดต่อกลับเพื่อทำการจอง มีการนำเสนอ Promotion ต่างๆ แต่ข้อจำกัดคือยังไม่สามารถจองตรงผ่านเว็บไซต์ของโรงแรมได้ทันที อาจต้องมีการโทรคุยสอบถามรายละเอียด มีการส่งเอกสารยืนยันการจอง การชำระเงินและได้รับ Confirmation Letter ในที่สุดซึ่งเป็นการทำงานหลายขั้นตอนจนกว่าการจองจะสิ้นสุดแต่ก็ถือว่าโรงแรมใดที่มีเว็บไซต์เป็นของตนเองในช่วงนั้นเป็นโรงแรมที่น่าเชื่อถือและมีมาตรฐานดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
3. ยุค 3.0 เป็นยุคของเทคโนโลยีที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นภาครัฐและเอกชนเริ่มหันมา Focus ธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยวโดยการออก Package สนับสนุนและกระตุ้นการท่องเที่ยวออกมาอย่างแพร่หลายภาคธุรกิจ นักลงทุน เศรษฐี หันมาพัฒนาธุรกิจของตนเองเพื่อพยายามเข้ามาสร้างรายได้และเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจโรงแรม ในยุคนี้เริ่มมีการเข้ามาของ OTAs (Online Travel Agencies) ทั้งไทยและต่างประเทศแต่ที่ใหญ่ๆ ก็คงมีไม่กี่เจ้า สัดส่วนการขายถูกแบ่งออกอย่างชัดเจนระหว่างการขายผ่าน T/A (Travel Agency) และ OTA (Online Travel Agency) โรงแรมเริ่มมีการปรับตัวในการจ้างพนักงานในตำแหน่งที่รอบรับการขายออนไลน์โดยเฉพาะอย่าง E-Commerce Manager, E-Distribution Manager, หรือแม้แต่ Sales Manager – Online ขึ้นมาเพื่อรอบรับการขายในช่องทางนี้ ในส่วนการขายแบบ Offline เริ่มมีการจัดงาน “ไทยเที่ยวไทย” เพื่อส่งเสริมการขายให้กับหลายๆ โรงแรมขึ้นอีกด้วย
4. ยุค 4.0 เป็นยุคที่ช่องทางการจัดจำหน่ายถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีอย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุดสัดหลายโรงแรมปรับส่วนการจัดจำหน่ายผ่าน T/A ลดลงรวมทั้งเริ่มมีคำถามในค่า Commission ของ OTAs ที่พอคำนวณจริงๆ ในแต่ละปีบางโรงแรมสามารถนำมาเป็นงบการตลาดได้อย่างสบาย ช่องทางใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาและน่าสนใจในยุคนี้คือการขายผ่านผู้ติดตามของ Blogger ที่ใช้ความชอบและความเชี่ยวชาญของตนเขียน Review โรงแรมซึ่งในหลายๆ คนมีผู้ติดตามเป็นหมื่นเป็นแสน Follower โรงแรมจึงหันมาสนใจช่องทางนี้เพราะเมื่อเทียบต้นทุนแล้วส่วนใหญ่จะประหยัดมากกว่าช่องทางการจัดจำหน่ายสองช่องทางแรก แต่ด้วยบาง Blogger ที่เป็นรายใหญ่ๆ มีผู้ติดตามเยอะๆ มีการเรียกค่าใช้จ่ายที่มากเกินไปจากข้อได้เปรียบในจำนวนผู้ติดตาม ทำให้เกิดช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ขึ้นมาซ้อนกับช่องทาง Blogger นี้คือช่องทางของ Micro Blogger ที่เป็นการใช้การจัดจำหน่ายผ่าน Blogger รายเล็กๆ ที่มีจำนวนผู้ติดตามอาจจะแค่หลักหลายพันถึงไม่กี่พันแต่เมื่อใช้หลาย Blogger รวมกันก็ทำให้กลายเป็นจำนวนมากขึ้นมาเทียบเท่า Master Blogger ได้ แม้โรงแรมอาจจะต้องยอมรับว่าผู้ติดตาม Micro Blogger รายหนึ่งอาจสามารถติดตามได้หลาย Blogger ก็ตามแต่ก็ถือเป็นการประหยัดและหาช่องทางการจัดจำหน่ายได้น่าสนใจอีกช่องทางหนึ่ง
นี่คือเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับช่องทางการขายของโรงแรมที่ถูกวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันที่ CEMS นำมาเสนอกันครับ
************************************************************************* บริการรับบริหารโรงแรมระดับไม่เกิน 3 ดาว ในพัทยา ชลบุรี ระยอง จาก CEMS HALLS สนใจติดต่อและรับรายละเอียดได้ที่ 081 949 3713, 033 004 953 E-mail: contact@cemshalls.com ดูรายละเอียดเบื้องต้นได้ที่ https://cemshalls.com/service/management
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น