บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2018
Welcome Drink ถือเป็นอีกอย่างที่ช่วยเพิ่มมูลค่าและความประทับใจให้กับแขกที่เดินทางมาเข้าพักกับโรงแรมในบางโรงแรมก็เสิร์ฟให้ทันทีที่แขกมาถึงเพื่อ Refreshment ในขณะที่แขกติดต่อ Check In อยู่แต่ในบางโรงแรมก็ใช้การให้ Coupon ให้แขกเดินไปรับ Welcome Drink ได้ที่บาร์หรือห้องอาหารซึ่ง Welcome Drink น่ะรับฟรีแต่หลังจากดื่มเสร็จโรงแรมอาจเพิ่มโอกาสการขายเครื่องดื่มอื่นๆ ได้เพราะแขกไปที่บาร์แล้วย่อมพบเห็นเครื่องดื่มอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เพิ่มรายได้ให้โรงแรมได้พอสมควรแต่ก็ต้องระวังไม่ให้รบกวนแขกมาจนเกินไปเช่นกัน....วันนี้ไปดูคนโรงแรมเค้าคุยเรื่อง Welcome Drink ยอดนิยมกันครับ วันนี้มาว่ากันอีกทีเรื่อง 5 อันดับ Welcome Drink ยอดนิยม ใช้กันจริงใช้กันจัง บางอันแขกก็กินแล้วขอเพิ่ม แต่บางอันแขกก็กินแล้วส่ายหน้ากันเลยทีเดียว 1. น้ำตะไคร้ มันเป็นการผสมผสานรสชาติสมุนไพรที่ให้กลิ่นอายของต้มยำกุ้งและต้มข่าไก่ได้ดีมาก ด้วยรสชาติของตะไคร้ผสมน้ำตาลจะหวานก็ไม่หวานจะฉุนก็ไม่ฉุน แขกบางคนกินแล้วติดใจขอใหม่ แต่เฮียเคยเจอแขกคนนึงกินปุ๊บหาที่วางแก้วแล้วขอน้ำเปล่าอย่างด่วนเลย ฉุนขึ้นคอกันเล
รูปภาพ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Hotel Report สำหรับการทำธุรกิจโรงแรมนั้น ตัวเลขง่ายๆ ที่สามารถบ่งบอกแนวโน้มและรายได้ของโรงแรมนั้นส่วนใหญ่จะเป็นตัวเลขที่เกี่ยวกับรายได้ค่าห้องและอัตราการเข้าพักซึ่งหลักๆ แล้วจะประกอบไปด้วยหัวข้อดังนี้คือ • Occupancy หรือ Occ. เวลาที่พนักงานโรงแรมเค้าคุยกันหรืออวดกันเล่น ๆ ในหมู่พนักงานเค้าเจอหน้ากันก็จะถามกันประมาณว่า “เฮ้ย โรงแรมแก Occupancy เท่าไหร่” หรือบางครั้ง GM หรือ เจ้าของโรงแรมเดินมาถามเองเลยก็มีว่า Occupancy วันนี้เท่าไหร่” ซึ่งไอ้ตัว Occupancy นี้มันเป็นตัวบ่งบอกถึงปริมาณแขกที่เข้ามาพักในโรงแรมต่อห้องพักที่โรงแรมมีทั้งหมดในวันนั้นหลังจากปิดรอบว่าเป็นกี่ % จากจำนวนเต็ม 100% โดยสูตรการคำนวณนี้จะมาจาก Total Guest In House Room / Total Room Available แล้วคูณด้วย 100 เช่น สมมุติว่าวันนั้นมีแขก In House 250 ห้องและโรงแรมมีห้องพักทั้งหมด 500 ห้อง วิธีคิดก็จะเอา 250/500*100 = 50.00% แบบนี้ก็แสดงว่ามีแขกเข้าพักถึง 50% จากจำนวนห้องพักที่โรงแรมนั้นมี ข้อมูลตัวนี้โรงแรมแต่ละแห่งจะสามารถแชร์กันได้แต่ต้องตกลงกันก่อนนะครับว่าจะทำการแบ่งปันกันนะเพราะบางที่เขาก็ไม
รูปภาพ
พบกับ Co Working Space สถานที่ที่เป็นชุมชนของเหล่า Startup ในเมืองพัทยา หากคุณกำลังมองหาสถานที่ทำงานที่เป็นส่วนตัว เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์สำนักงานครบครัน อาทิ ครัวส่วนกลาง พื้นที่นั่งพักผ่อน ห้อง Locker, Hi Speed Internet, ระบบถ่ายเอกสารสุดล้ำจาก Double A ที่สั่ง Print ผ่าน App ได้แม้อยู่ในระยะไกล, เราขอแนะนำที่นี่ rPod CoWorking Space ซอยนาเกลือ 16 เมืองพัทยา พร้อมห้องประชุมทั้งขนาดกลางและขนาดเล็กที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็น Office ส่วนตัวของคุณได้ rPod CoWorking Space ที่ๆ คุณจะได้พบกับเพื่อนๆ เหล่า Startup และ Freelance สายต่างๆ ในแวดวงเทคโนโลยี พร้อมคอร์สการประชุมสัมมนาที่ช่วยเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับ Startup และเทคโนโลยีในปัจจุบัน สมัครสมาชิกเพื่อดูรายละเอียดสถานที่และรายละเอียดการติดต่อได้ที่นี่ https://www.cemshalls.com/location/room/136 https://www.cemshalls.com/location/room/136
นปัจจุบันนี้เราจะเห็นช่องทางการขายแบบใหม่มากมายที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องทั้งการขายสินค้าทั่วไป การขายบริการ ในส่วนของธุรกิจโรงแรมนั้นหากผู้บริหารโรงแรมไหนเล็งเห็นช่องทางใหม่ๆ เหล่านี้และสามารถวิเคราะห์จนเข้าใจได้ว่าจะนำมาพัฒนาการขายห้องพักของโรงแรมได้อย่างไร ย่อมนำมาซึ่งความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน พูดถึงช่องทางการขายของโรงแรมนั้น CEMS เองมีข้อสังเกตการวิวัฒนาการเรื่อยมาตั้งแต่อดีตเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันซึ่งวันนี้ CEMS ขอรวบรวมจากประสบการณ์การทำงานโรงแรมมาให้เป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ นะครับ 1. ยุค 1.0 = ยุคเริ่มต้นของธุรกิจโรงแรมในสมัยที่ยังไม่มี OTA และการท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนมากเท่าทุกวันนี้รวมทั้งนักลงทุนหรือเศรษฐีทั่วไปก็ยังไม่นิยมสร้างโรงแรมเป็นของตัวเอง ช่องทางการจัดจำหน่ายช่วงนี้จะเน้นการขายผ่าน “ T/A (Travel Agency)” เป็นบริษัททัวร์เพื่อให้พาแขกมาเข้าพักกับทางโรงแรมหรือการขายแขกประเภท Walk In ที่ตั้งใจมาพักโดยตรงเป็นหลัก สำหรับ T/A จะมีผลตอบแทนในรูปของห้อง Complimentary แขกหรือไกด์ รวมทั้งราคาที่สามารถนำไปบวกเพิ่มเป็นส่วนต่างและเป็
การบริหารโรงแรมในยุคเปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่น Post นี้ผมอยากเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับแนวโน้มการบริหารโรงแรมที่หลายๆ แห่งเริ่มที่จะเปลี่ยนผ่านจากรุ่นคุณพ่อคุณแม่สู่รุ่นลูกๆ หลายๆ ครั้งที่ CEMS HALLS เราเข้าไปรับบริหารงานโรงแรมต่างๆ โดยส่วนใหญ่เราจะได้พูดคุยกับฝั่งของเจ้าของที่เป็นคนรุ่นลูกๆ ที่อยู่ในช่วง Gen X, Gen Y, ซึ่งโดยธรรมชาติคนรุ่นนี้จะเติบโตขึ้นมากับความทันสมัยและหลักคิดที่อิงไปในทาง Digital การเชื่อในหลักการทำงานแบบ Work Smart มากกว่าการ Work Hard เพราะเชื่อว่า "การทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำและเอาเป็นเอาตายแบบเมื่อก่อนไม่ใช่หนทางแห่งการประสบความสำเร็จเสมอไป" และด้วยตัวช่วยในการตอกย้ำความคิดนี้ในปัจจุบันอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่มีเข้ามามากมายอย่างไม่ขาดสายแม้ในธุรกิจบริการที่ได้ชื่อว่า "การใช้มนุษย์ด้วยกันในการบริการจะให้ความรู้สึกดีมากกว่า" ก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ Gen รุ่นลูกๆ เหล่านี้จึงมีแนวความคิดในการหาเทคโนโลยีและเครื่องมือที่จะมาช่วยรองรับการทำงานและช่วยให้พวกเค้าทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะเล็งเห็นกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกท
การทำ Rebate และ Correction การทำ Rebate และ Correction การ Rebate และ Correction นี้ ส่วนใหญ่พนักงานโรงแรมถ้าเลี่ยงได้เราก็จะเลี่ยงและไม่อยากจะให้มันเกิดขึ้นเพราะนอกจากมันจะไม่ดีกับตัวเราเองแล้วมันยังทำให้เราถูกเพ่งเล็งเนื่องจากทั้งสองรายการมันเป็นการนำรายได้ออกจากโรงแรมซึ่งเมื่อทำรายการแล้วย่อมเกิดผลกระทบทางบัญชีในด้านรายรับทันที เพราะมันเป็นการ Post รายได้เข้าไปแล้ว และพบว่ามันเป็นรายได้ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงหรือเกิดขึ้นจริงแต่ผิดรายการ เช่น รายได้ค่าห้องแต่ไป Post ในระบบเป็นรายได้ของฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งต้องแก้ไขโดยการนำออกจากรายการ ในส่วนของความหมายและการใช้งานนี้จะมีด้วยกันหลักๆ สองแบบคือ 1. Correction หมายถึง การแก้ไขการ Post บิลผิด ที่เป็นรายการที่เกิดในวันเดียวกัน เช่น เรา Post ค่า Mini Bar 500 บาท ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ในตอนเช้าแต่ปรากฏว่าแขกแจ้งว่าไม่ได้ทาน Mini Bar ในห้องพักแต่ค่าใช้จ่ายที่แสดงมานั้นมันเป็นใช้บริการ Laundry ของแขกซึ่งเมื่อเราทราบแล้วในวันนั้นสมมุติว่าเราทราบเรื่องตอนบ่ายๆ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ (วันเดียวกันกับที่ Post) เราก็แค่ทำการลบรายการที่ Post
รูปภาพ
ตอน เรื่องของเสียง เวลา Group มีงานเลี้ยงสิ่งหนึ่งที่เลี่ยงไม่ได้คือ "เรื่องของเสียง" และสิ่งที่จะตามมาคือเรื่องของการโดน Complain การเกิดเสียงดังจนไปรบกวนแขกที่กำลังพักอยู่ซึ่งส่วนมากจะเป็นช่วงกลางคืน ครั้งนึงเฮียรับแจ้งปัญหามีแขกบนตึกโยนกล้วยหอมลงมากลางวงงานเลี้ยงที่จัดอยู่บริเวณสนามหญ้าหน้าชายหาดของโรงแรม ซึ่งลักษณะของโรงแรมจะเป็นตึกหันหน้าเข้าทะเล ด้านล่างจะเป็นสนามหญ้าลักษณะลานอเนกประสงค์ที่ไว้ทำกิจกรรมจัดเลี้ยง ทีนี้วันนั้นมันมีการจัดงานเลี้ยงงานนึงแล้วก็มีดนตรี ร้องเพลงปกติซึ่งใน BEO (Banquet Event Order) ระบุเวลาเลิกงานไว้ 4 ทุ่ม และก็อย่างที่เรารู้แหละว่าเวลามันมีการสังสรรค์มันก็จะมีอาการแบบ "นั่งคุยต่อหลังงานเลิก" ตามมาเสมอ Group นี้ก็สังสรรค์กันมาถึง 4 ทุ่มซึ่งก่อน 4 ทุ่มเฮียก็ได้รับแจ้งจากแขกห้องนึงว่า "ข้างล่างเสียงดังมาก เค้าจะพักผ่อนช่วยให้เค้าเบาๆ หน่อย ถ้าไม่อย่างนั้นเค้าจะจัดการเอง" คือมันก็เป็นอะไรที่กระอักกระอ่วนใจสำหรับคนที่ต้องจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะทั้งคู่คือ "แขกของโรงแรม" ทั้งหมด แขกที่แจ้งก็เข้าใจว่าเค้ามาพักผ่อ
รูปภาพ
การบริหารโรงแรมในยุคเปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่น Post นี้ผมอยากเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับแนวโน้มการบริหารโรงแรมที่หลายๆ แห่งเริ่มที่จะเปลี่ยนผ่านจากรุ่นคุณพ่อคุณแม่สู่รุ่นลูกๆ หลายๆ ครั้งที่ CEMS HALLS เราเข้าไปรับบริหารงานโรงแรมต่างๆ โดยส่วนใหญ่เราจะได้พูดคุยกับฝั่งของเจ้าของที่เป็นคนรุ่นลูกๆ ที่อยู่ในช่วง Gen X, Gen Y, ซึ่งโดยธรรมชาติคนรุ่นนี้จะเติบโตขึ้นมากับความทันสมัยและหลักคิดที่อิงไปในทาง Digital การเชื่อในหลักการทำงานแบบ Work Smart มากกว่าการ Work Hard เพราะเชื่อว่า "การทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำและเอาเป็นเอาตายแบบเมื่อก่อนไม่ใช่หนทางแห่งการประสบความสำเร็จเสมอไป" และด้วยตัวช่วยในการตอกย้ำความคิดนี้ในปัจจุบันอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่มีเข้ามามากมายอย่างไม่ขาดสายแม้ในธุรกิจบริการที่ได้ชื่อว่า "การใช้มนุษย์ด้วยกันในการบริการจะให้ความรู้สึกดีมากกว่า" ก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ Gen รุ่นลูกๆ เหล่านี้จึงมีแนวความคิดในการหาเทคโนโลยีและเครื่องมือที่จะมาช่วยรองรับการทำงานและช่วยให้พวกเค้าทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะเล็งเห็นกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกท
ตัวย่อระหว่าง FO and HK โรงแรมเป็นธุรกิจที่ต้องมีหลายภาคส่วนในการปฏิบัตงานซึ่งการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพถือเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญอย่างมาก เนื่องจากหากในแต่ละฝ่ายไม่สามารถเข้าใจไปในแนวทางเดียวกันได้ย่อมทำให้การปฏิบัติงานผิดพลาดและส่งผลกระทบต่อแขกได้ วันนี้ CEMS HALLS จะขอยกตัวอย่างของการติดต่อสื่อสารกันระหว่างแผนกภายในโรงแรมในส่วนของ Front Office และ Housekeeping จะใช้ตัวตัวย่อในการกำกับสถานะของห้องพักในแต่ละประเภทไว้ในระบบ Hotel System และแทนค่าด้วยสีหรือเครื่องหมายบางอย่างพร้อมทั้งอักษรย่อให้พนักงานรู้สถานนะของห้องในขณะนั้นซึ่งตัวย่อที่นำมาให้อ่านกันนี้จะเป็นตัวย่อหลักๆ ที่ใช้งานระหว่างแผนก Front Office และ Housekeeping ที่ใช้กันส่วนใหญ่ประกอบด้วย 1. VC = Vacant Clean หมายถึงห้องว่างที่สะอาดแล้วพร้อมสำหรับส่งแขกได้ทันที ไม่ต้องให้แม่บ้านขึ้นไปทำความสะอาดอีก 2. VD = Vacant Dirty หมายถึงห้องว่างที่ยังไม่สะอาดยังสกปรกอยู่ อาจจะด้วยเหตุผลที่แขกเพิ่ง C/O ออกไปหรือเกิดปัญหาบางอย่างที่สามารถแก้ไขให้เสร็จได้ในทันที เช่น หลอดไฟเสีย สายชำระขาด เป็นต้น 3. OC = Occupied Cle
รูปภาพ
พบกับสถานที่จัดงานประชุมสัมมนา งานเลี้ยงสังสรรค์ ที่มาพร้อมกับบรรยากาศสุดพิเศษริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายระหว่างการเข้าใช้งานและเข้าพักทั้งสระว่ายน้ำ ห้องอาหารติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้บรรยากาศการทานอาหารเลิศรสของคุณเติมเต็มด้วยกลิ่นอายของแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงหลากหลายชีวิตของประเทศไทยมานานนับชั่วอายุคน นอกจากนี้ยังมีฟิตเนสสำหรับคนรักสุขภาพ และ Internet ความเร็วสูงเพื่อรองรับการใช้งานได้อย่างไม่สะดุด พบกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เหล่านี้ได้เพียงเข้าใช้งานห้องประชุมสัมมนาที่ Chatrium Hotel Riverside Bangkok สนใจรายละเอียดและติดต่อสำรองห้องประชุมสัมมนาได้ที่ https://www.cemshalls.com/location/room/67

ตอน การเปิด City Ledger

รูปภาพ
การเปิด City Ledger วันนี้จะขอแบ่งปันจากประสบการณ์จริงของผู้เขียนเกี่ยวกับการขอเปิดบัญชี City Ledger ระหว่างโรงแรมและคู่ค้าธุรกิจ โดยปกติก่อนที่จะเปิดบัญชี City Ledger ในระบบ PMS ของโรงแรมได้กระบวนการขอเปิดบัญชีส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากการที่แผนก Sales and Marketing เข้าพบกับลูกค้าเพื่อเสนอขายห้องพักและบริการของโรงแรมซึ่งจะเป็นลูกค้าทั้งในส่วนของ Travel Agency, Corporate, Government, ฯลฯ และเสนอทำ Contract Rate กัน กรณีถ้าเป็นบริษัทหรือคู่ค้าที่ยังไม่ได้มีการเชื่อใจหรือเชื่อถือกันมากขนาดนั้นทางแผนก S&M ก็จะเสนอให้ชำระเงินเป็นเงินสดก่อนเป็นการ Pre-Paid ค่าห้องก่อนเข้าพัก หรือ COA (Cash On Arrival) คือจะมีคนมาจ่ายเงินทันทีตอนที่แขกมา Check In ส่วนกรณีของ COD (Cash On Departure) คือจะมีคนมาจ่ายตอน Check Out อันนี้ไม่ค่อยทำกันเพราะมักจะมีปัญหาไม่ค่อยมาจ่ายแต่จะพยายามต่อรองให้ทางโรงแรมให้ปล่อยแขก Check Out ก่อน ซึ่งบางโรงแรมก็ไม่ยอมเพราะกลัวหนี้เสียก็ไม่ยอมปล่อยให้แขก Check Out ที่เดือดร้อนก็เป็นแขกที่ไม่รู้เรื่องใดๆ เกี่ยวกับปัญหาการชำระหนี้ที่บริษัทที่ตัวเองจองมามีปัญหากับโรงแรม แต่ไม่ส

ตอน ถ้าไม่ปิด City Ledger จะเป็นยังไง?

รูปภาพ
ถ้าไม่ปิด City Ledger จะเป็นยังไง? ในกรณีที่เราไม่ได้ทำการปิด City Ledger ในระบบ PMS สิ่งแรกเลยที่จะเกิดคือเราจะไม่สามารถทำการ Check Out แขกห้องนี้ออกจากระบบและนำแขกใหม่ที่จะเข้าไปทำการ Check In เข้าไปในระบบได้เพราะระบบจะบังคับให้เราทำยอดให้เป็น 0 บาทก่อนที่จะทำการ Check Out ตัวอย่าง กรณีแขกคนหนึ่งที่เราดันพลาดปล่อยให้เขา Check Out ไปเพราะแขกแจ้งว่า "Agency จ่ายค่าห้องมาแล้ว" และด้วยความผิดพลาดเราเลือกที่จะเชื่อโดยปราศจากการตรวจสอบ สมมุติว่าแขกอยู่ห้อง 234 ทีนี้พอแขก Check Out ไปแล้วในระบบมันก็จะมียอดค่าห้องค้างอยู่ สมมุติอีกครั้งคือ 3000 บาท ทีนี้เราจะทำการปิด City แต่ปิดไม่ได้เพราะยังไม่ได้รับการอนุมัติ แล้วมีแขกใหม่ที่มารอ Check In อยู่ที่ห้องนี้ต่อ เราก็ต้องทำการปิดยอด 3000 บาทนี้ให้เป็น 0 ก่อนทีนี้เมื่อปิด City ไม่ได้ หวยก็จะไปออกที่กระบวนการ การเปิดห้องๆ นึงขึ้นมาเพื่อย้ายหนี้ 3000 บาทนี้ไปไว้ให้ยอดให้ห้องนี้เป็น 0 ก่อนจึงจะสามารถทำการ Check In แขกใหม่เข้าไปได้ ซึ่งห้องที่ว่านี้มันคือห้องที่เจ้าของและผู้บริหารโรงแรมไม่ค่อยอยากให้มียอดค้างและเปิดขึ้นมาเท่าไหร่ (บางโ

ตอน อพยพกันเถอะ

รูปภาพ
เรื่องความปลอดภัยอีกอย่างหนึ่งในวงการโรงแรมของเราคือเรื่องของการซ้อม Fire Drills หรือการอพยพหรือไฟ ปกติแล้วธุรกิจโรงแรมของเรานั้นจัดอยู่ในประเภทกฏหมายที่ควบคุมอยู่สองอย่างคือ พรบ.อาคาร และ พรบ.โรงแรม และไอ้ส่วนของการอพยพหนีไฟนี้มันก็เป็นอีกอย่างที่เราต้องเตรียมตัวกันจัดซ้อมอพยพตามกำหนดการ ครั้งนึงโรงแรมที่เฮียทำงานกำลังจะมีการซ้อมอพยพหนีไฟต่างคนต่างก็ทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์อย่างหนักหน่วงทั้งติดป้ายไว้หน้าโรงแรมเลยเพื่อกันคนแตกตื่น HR ก็ไปติดต่อกับสำนักงานเขตของสนับสนุนบุคคลากรของทางราชการในการซ้อมหนีไฟ Front Office ก็มีการแจ้งแขกทุกห้องก่อน Check in ว่าเราจะมีการซ้อมหนีไฟนะถ้ากริ่งดังไม่ต้องตกใจ จากนั้นเวลาก็ผ่านไปจนมาถึงวันจริง พอถึงเวลามันก็เริ่มตามสเตปเลยตั้งแต่กริ่งดังแล้วค่อยๆ ดังขึ้นๆ ไปเรื่อยๆ แขกที่เค้ารู้อยู่แล้วเขาก็เฉยๆ บางคนก็เริ่มมีเล่นบ้างคือทำเป็นวิ่งหยอกกันกับเพื่อน แต่อยู่ดีๆ ก็มีแขกห้องนึงวิ่งลงมาพร้อมกับลากกระเป๋าหน้าตาตื่นเลงลงมาที่ Lobby ผู้ชายใส่กางเกงตัวเดียวถอดเสื้อ ผู้หญิงใส่ชุดคลุมอาบน้ำ พอลงมาถึง Lobby ก็ทำหน้า งงๆ เพราะเห็นคนยังนั่งกันอยู่อย่างปก

ตอน City Ledger เช็คให้ดีก่อนปล่อยแขก

รูปภาพ
City Ledger เช็คให้ดีก่อนปล่อยแขก Check Out ปัญหาหนึ่งที่ชาวโรงแรมมักจะเจอบ่อยเวลาที่มี Group หรือแขกที่ชำระเงินผ่าน Travel Agency เข้ามาและกำลังจะ Check Out ออกไปนั่นคือปัญหาในเรื่องของการปิด City Ledger หรือที่ภาษาเราชาวโรงแรมเรียกว่า "ปิด City" นี่แหละครับ เนื่องจากถ้าเราสามารถปิด City ได้ในระบบอันนี้ไม่มีปัญหาอะไรทุกอย่างปกติแสดงว่าหนี้ก่อนนี้ที่ปิดไปมีการเปิดบัญชีลูกหนี้ถูกต้องตามกระบวนการของโรงแรมเรียกได้ว่า "ใช้ก่อนจ่ายทีหลัง" แต่ถ้าเราไม่สามารถปิดยอดหนี้ในระบบได้เพราะไม่มีบัญชี City นั่นหมายความว่า Group นี้ต้องหาเงินมาชำระก่อนที่จะ Check Out ออกไป เนื่องจากไม่ได้มี Credit ไว้กับทางโรงแรม หากกรณีที่ปิด City ไม่ได้แล้วปล่อยให้ Group Check Out ไปความเสี่ยงที่เข้ามาคือ "หนี้สูญ" ที่ไม่รู้ว่าจะเรียกเก็บเงินได้หรือไม่ (ถ้าบริษัทคู่ค้านั้นไม่ได้มีความมั่นคงทางการเงินจนสามารถไว้ใจให้แขก Check Out ก่อนได้) มันก็จะเกิดเป็นหนี้ที่รอการชำระ (เลวร้ายสุดคือไม่รู้ว่าจะถูกชำระเมื่อไหร่ จนกลายเป็นหนี้เสีย) ที่ถูกโยกไปไว้ในระบบ PMS (Property Management System)

ตอน BEO สับขาหลอก

รูปภาพ
ตอน BEO สับขาหลอก ปกติเวลาที่โรงแรมมีงานจัดเลี้ยงในการประสานระหว่างแผนกเพื่อให้รู้ว่าใครทำอะไร แผนก Sale จะเป็นคนออกเอกสารตัวนึงที่เรียกว่า BEO หรือ Banquet Event Order มาเพื่อเป็นแนวทางที่ให้แผนกอื่นๆ ได้รับรู้ว่า “กรูต้องทำอะไรบ้างและเตรียมอะไรในงานนี้” เพื่อจะได้ตัดปัญหาการเกี่ยงงานกันในกรณีที่มีคนแย่งกันรับผิดชอบประเภท “มึงทำดิ มึงเอาไปดิ” อะไรแบบนี้อ่ะนะ ทีนี้เวลาออก BEO เนี่ยมันมีอย่างนึงที่เป็นปัญหาปวดใจของ Sale และทุกๆ แผนกมากนั่นคือเวลาที่แขกต้องการเปลี่ยนนู้น นี่ นั่น กระทันหันแล้วต้องมาคอยแก้ใน BEO ว่าแผนกไหนทำอะไรรับผิดชอบยังไง เพราะบางทีงานมันเดินไปแล้วแต่ Sales เพิ่งมีเวลามา Revise ตัว BEO ทีหลัง บางงานนี่กว่าจะเสร็จ Revise ตัว BEO กันเป็น 10 รอบสำหรับเฮียมีครั้งนึงที่เสือกอ่าน BEO ผิด ชีวิตแม่งเกือบเปลี่ยนและเรียกได้ว่าเป็นความผิดพลาดที่อยากบอกต่อและให้พวกเอ็งระวังไว้เลยนะ เรื่องเกิดขึ้นเมื่อเฮียได้รับ BEO ตัวนึงจากแผนก Sale เป็นแชก Group งานสัมมนาซึ่งในส่วนของ FO ก็มีที่ต้องจัดการเตรียม Welcome drink และห้องให้พร้อมก่อนเวลา Check In ที่แขกจะเดินทางมา แล้วก็สถานที่ส

ตอน เธออยู่ไหน???

รูปภาพ
ตอน เธออยู่ไหน??? เวลาแขกที่มาพักเป็น Group เข้ามาพักเนี่ยมันจะมีอีกงานหนึ่งที่เราๆ ชาวโรงแรมโดยเฉพาะหน้า Front ต้องทำหน้าที่ในการอัพเดทอยู่ตลอดเวลานั่นคือการทราบกำหนดการของ Event ของ Group นั้นๆ ที่เกิดขึ้นว่าเค้าทำอะไรกัน? ที่ไหน? กี่โมง? และตอนนี้อยู่ไหนแล้ว? เพราะมันจะมีแขกประเภทนึงที่เรียกได้ว่า "Slowlife" คือ ช้าตลอดจนตามเพื่อนไม่ทันอาจจะช้าโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ไม่ทราบ เฮียเคยเจอครั้งนึงเป็น Group จากบริษัทยายนต์ระดับโลกเลยยกขบวนมาจัด Outing ที่โรงแรม ทีนี้ช่วงเช้าประมาณ 10 โมงเค้าก็มีกิจกรรมที่ชายหาดซึ่งทุกคนส่วนใหญ่ของ Group เค้าก็ไปกันหมดและทีนี้ประมาณ 11 โมง Group นี้เค้าก็อยู่ในช่วงพักและปล่อยฟรีให้ไปพักผ่อนกัน ก็ปรากกว่ามีแขกอยู่คนนึงน่าจะเมาหนักเมื่อคืนดันตื่นสาย แต่ก็รีบตาลีตาเหลือกมาเลย มาถึงก็ถามเฮียว่า "ขอโทษนะครับ Group... ตอนนี้อยู่ที่ไหนครับ" เฮียก็ด้วยความที่มีหมายกำหนดการอยู่แล้วก็แจ้งไปว่า "ตอนนี้อยู่ที่ชายหาดครับ" พูดจบพี่แกก็รีบวิ่ง Speed เร็วกว่านรกไปที่ชายหาดปรากฏว่าเค้าแยกย้ายกันไปหมดแล้ว ทีนี้พี่แกก็รีบตาลีตาเหลือกมาท

ตอน สลับห้อง

รูปภาพ
ตอน สลับห้อง เวลา Group เข้าเนี่ย โดยมาตรฐานแล้วเรื่องของการ “จัดห้องพัก” นี่ก็สำคัญ เพราะโดยทั่วไปที่เราจะต้องทำและเข้าใจได้โดยอัตโนมัติคือ แขกที่มาเป็น Group เราจะต้องจัดสรรห้องให้อยู่ใกล้ๆ กันหรืออยู่ในละแวกเดียวกันไว้จะดีที่สุด เช่น อยู่ตึกเดียวกัน อยู่ปีกเดียวกัน อยู่ชั้นเดียวกัน แต่เชื่อไหมไม่ว่าจะจัดไว้ดีขนาดไหนสุดท้ายมันก็จะเละทุกทีถ้าเรา Control ไม่ดี เหมือนที่เฮียเคยเจอ เรื่องนี้เริ่มต้นที่เฮียรับ Rooming List มาจาก Sale ซึ่งรับต่อมาจาก Organizer อีกทีนึง ไอ้ตัว Rooming List นี้ก็คือตัวที่บอกว่า “ใครพักกับใคร” และ “ใครเป็น VIP ที่ต้องแปลกแยกและจัดห้องพิเศษไว้ให้บ้าง” เฮียก็รับมาแล้วก็จัดการเรียงลำดับการเข้าพักพร้อมจัดห้องให้ตามรายชื่อที่ได้รับมาใน Rooming List ทุกอย่างก็เรียบร้อยเป็นไปได้ด้วยดี (ตอนจัดในระบบนะ) แต่พอถึงวันจริงหลังจากที่แขกมา Check In แล้ว เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันแต่คาดไว้แล้วก็เกิดขึ้นเพราะมันเป็นเวลาแห่งการเริ่มต้นของมหกรรมการเปลี่ยนห้องกันสนุกสนานเลย เชื่อไหมว่าเกือบ 1 ชม. เฮียและน้องๆ G.S.A ใช้เวลาไปกับการเปลี่ยนชื่อและห้องพักในระบบของแขก Group นี้ เนื่อ

ตอน Group คืนกุญแจ

รูปภาพ
ตอน Group คืนกุญแจ สำหรับ Group ที่มาจัดเลี้ยงและสัมมนาพวกเราคงเคยเจอการคืนกุญแจที่เป็นสีสันของชีวิตกันบ้างอ่ะนะ คือไอ้ Key Card เนี่ย บางโรงแรมเค้าก็ให้ฟรีไม่ได้ Worry อะไรที่จะให้เป็นของที่ระลึก แต่บางโรงแรมที่ไม่ใช่ 5 ดาว เค้าก็ต้องดุในเรื่องของต้นทุนค่า Key Card ด้วยเพราะคาดว่าถ้าให้หมดเนี่ยรับรองได้ว่ารายจ่ายทะลุเพดานบินแน่นอน ครั้งนึงเฮียรับ Check Out แขกที่มาสัมมนา Group นึง ซึ่งปกติเวลาที่เราทำกันก็คือเราจะให้ Organizer เป็นคนไป Brief แขกว่า “ทานอาหารเช้าเสร็จแล้วให ้ Check Out ได้เลย” เพราะมันจะต้องรออีกหลายๆ ห้องกว่าจะออกเดินทางพร้อมๆ กันเนื่องจากบางครั้งมันต้องมีการ Check ตัวของ Mini Bar อีกซึ่งแขกที่มาเป็น Group สัมมนาเนี่ย ต่ำๆ ก็ 100 ห้องขึ้นไปกว่าจะ Check กันเสร็จบางทีก็รอเป็น ชม. ฉะนั้นสิ่งที่ดีที่สุดไม่ต้องทำให้แขกรอนานและพนักงานกดดันคือการทยอย Check นี่แหละครับดีที่สุด ทีนี้แขกบางคนที่เค้ารู้เขาก็จะเตรียมตัวโดยการเอากระเป๋าลงมาเลยแล้วก็คืนกุญแจกับ Organizer และก็มา Check Out ที่หน้า Front แล้วก็เอาเวลาที่เหลืออาจจะไปเดินเล่นถ่ายรูปนอกโรงแรม ช่วงแรกๆ ที่เ

ตอน อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ถ้าประมาท

รูปภาพ
ตอน อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ถ้าปร ะมาท เรื่องนี้อยากเล่าเป็นอุทรห รณ์เลยนะโดยเฉพาะอาชีพเราชา วโรงแรมที่เป็นอาชีพบริการที่ แบกความคาดหวังในการได้รั บการปรนนิบัติพัดวีจากแขกอย่ างสูงปรี๊ดตั้งแต่ก่อนที่จ ะเข้ามาพักอย่างสูงเหมือนกั บตึกเบิร์จคาลิฟาในดูใบเลยที่ เดียวเชียว ฉะนั้นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เราไม่ควรปล่อยผ่านอย่างยิ่ งเพราะหากเกิดอะไรขึ้นสิ่งที่ เราจะโดนร้องเรียนและเรีย กร้องในฐานะที่เราอยู่ในลัก ษณะงานบริการ มันย่อมมากกว่างานประเภทอื่ นซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการได้รั บผลกระทบของแขกด้วย เคสนี้เกิดขึ้นโดยที่เฮียต้ องเสียค่ารักษาพยาบาลให้แขก 5000 บาท พร้อมกับการ 1 Night Complimentary ให้แขก เหตุเกิดขึ้นจากเช้าวันนึงข ณะที่ PA ของเฮียกำลังทำความสะอาดบริ เวณหน้าทางเข้าโรงแรมอยู่ซึ่ งเป็นการล้างทางเดินที่เป็ นหินแกรนิโต้ใครนึกออกมันก็ จะเป็นหินแบบเงาๆ ดูลื่นๆ นั่นแหละเวลาที่โดนน้ำ ทีนี้เวลาทำงาน PA ก็จะค่อยๆ ทำทีละส่วนโดยจะล้างก่อนครึ่ งนึงและอีกครึ่งนึงเอาไว้ล้ างทีหลัง สาเหตุที่ต้องล้างเพราะเมื่ อคืนมีแขกมาโปรยเมล็ดพันธุ์ สุราเข้าหลังจากที่กินเข้าไ ปหนักเหลือเกินจนรับไม่ไหวแ ล้วก็จัดการพ่นเม

บริการถ่ายภาพโรงแรมของ CEMS HALLS

รูปภาพ
ภาพถ่ายของโรงแรมบอกอะไรบ้าง? โดยปกติแล้วก่อนที่แขกจะทำการจองห้องพักสิ่งที่สำคัญที่สุดในหน้าเว็บไซต์นอกเหนือจากข้อมูล รีวิว ราคาและสถานที่ตั้งแล้ว สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นหัวใจในการดึงดูดให้แขกผู้เข้าพักสนใจโรงแรมของตนเองและเข้ามาดูรายละเอียดทั้งหมดข้างต้นนั่นคือ "รูปถ่าย" ตามจุดต่างๆ ของโรงแรมนั่นเอง หลายๆ ครั้งที่บางโรงแรมใช้อุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพในการถ่ายภาพซึ่งบางภาพ Quality ที่ออกมานั้นเรียกได้ว่าไม่น่าประทับใจและไม่น่าดึงดูเอาเสียเลย บางโรงแรมก็ใช้กล้องมือถือรุ่นที่ความละเอียด ภาพไม่ได้มากมายอะไรในการถ่ายออกแนวขอแค่ให้ได้มีรูปภาพไปลงซึ่งจริงๆ แล้วอยากบอกว่านั่นคือการ "ฆ่าตัวตาย" ทางอ้อมให้โรงแรมของตัวเองเลยทีเดียวเพราะสิ่งแรกที่แขกจะตัดสินใจเข้ามาดูรายละเอียดของโรงแรมคือ "รูปภาพ" ที่ทำหน้าที่ดึงดูดเสมือนพนักงานต้อนรับซึ่งถ้าเปรียบเทียบคือถ้าพนักงานหน้าบูดเป็นตูดลิงไม่รับแขกมันก็ย่อมยากที่แขกจะเข้ามาเยี่ยมชม ด้วยเหตุนี้เอง CEMSHALLS จึงมีบริการรับถ่ายรูปโรงแรมจากช่างภาพมืออาชีพที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ในการถ่ายรูปที่ได้มาตรฐานครบครันพร้อมประสบการณ์ใ